วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

แนวทางการอนุรักษ์น้ำ

แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
                          การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
                   น้ำในโลกของเรร้อยละ 97.41 เป็นน้ำทะเล มีเพียงร้อยละ 2.59 เท่านั้นที่เป็นน้ำจืด ซึ่งแบ่งเป็นน้ำแข็งบนขั้วโลกร้อยละ 1.984 น้ำใต้ดินร้อยละ 0.592 และน้ำผิวดินร้อยละ 0.014 โดยน้ำผิวดินนี้แบ่งออกเป็นน้ำในทะเลสาบร้อยละ 0.007 น้ำที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินร้อยละ 0.005 น้ำในแม่น้ำ น้ำในสิ่งมีชีวิตและไอน้ำในบรรยากาศ อย่างละร้อยละ 0.001 เท่านั้น  ดังนั้นจะเห็นว่าปริมาณน้ำจืดที่มนุษย์สามารถนำมาใช้เพื่อยังชีพนั้นมีน้อยมาก
                    การอนุรักษ์ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพโดยเฉพาะแหล่งน้ำจืด ทั้งแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินจึงมีความสำคัญยิ่ง หลายปีที่ผ่านมา มีการสร้างเขื่อนและระบบชลประทานมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมพอสมควร  ดังนั้นเราควรใช้น้ำอย่างคุมค่า  มนุษย์ก่อเกิดมลพิษทางน้ำจากสามกิจกรรมหลัก ได้แก่ การเกษตร อุตสาหกรรม และการใช้ชีวิตในชุมชนหรือครัวเรือน โดยแบ่งเป็ฯมลพิษทางน้ำที่รู้แหล่งกำเนิด (Point source) และมลพิษทางน้ำที่ไม่รู้แหล่งกำเนิด (Non-point source) หลักการอนุรักษ์ทรัยากรน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพสามารถสรุปได้ดังนี้
                          1. การจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ (Availability of  water  resource)
                     การจัดหาแหล่งน้ำและการเก็บกักน้ำ (Reservoir) การสร้างอ่างเก็บน้ำที่เหมาะสมเพื่อกักเก็บน้ำผิวดิน (Surface water) การสร้างฝายหรือระบบจัดเก็บน้ำอื่นๆ เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำ  ซึ่งรวมถึงการจัดหาถังเก็บน้ำ อ่าง หรือภาชนะเพื่อการเก็บกักน้ำฝนเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งการจัดเก็บน้ำและลดการพึ่งพาน้ำจากแหล่งอื่น
                           การจัดระบบจ่ายน้ำ (Irrigation system) เป็นการผันน้ำจากร่องน้ำต่างๆ หรือแหล่งน้ำต่างๆ มารวมกัน แล้วจ่ายลงสู่พื้นที่ที่ต้องการ โดยวิธีการนี้ตั้งแต่โบราณแล้วในตะวันออกกลางและอเริกาใต้ ซึ่งวิธีนี้ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ช่วยลดการกร่อนของผิวดิน ลดน้ำท่วมและปริมาณตะกอนในพื้นที่ลุ่มอย่างไรก้ตาม เพื่อเป็นการลดการสูญเสียน้ำ ต้องหมั่นตรวจสอบการรั่วซึมของระบบจ่ายน้ำเป็นประจำหากพบต้องทำการแก้ไข เช่นการอุดหรือฉาบกันรั่ว
                           บ่อบาดาล (Well) หมายถึง รูหรือบ่อที่เจาะหรือขุดลงไปใต้ดิน เพื่อนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ประโยชน์ในบางโอกาศบ่อน้ำอาจใช้ประโยชน์ในลักษณะอื่น เช่น เป็นบ่อสำรวจ บ่อสังเกตการณ์ บ่ออัดน้ำลงใต้ดิน บ่อน้ำบาดาลอาจมีความลึกไม่มากเพียง 10 - 20 เมตร หรืออาจจะลึดเป็นหลายร้อยเมตร หลังจากที่มีการเจาะบ่อแล้ว บ่อนั้นจะต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนาและทดสอบ  เพื่อให้เป็นบ่อบาดาลที่มีคุณภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน บ่อบาดาลมีแรงดัน (Artesian well) เป็นบ่อบาดาลที่เจาะลงในั้นหินอุ้มน้ำมีแรงดัน ระดับน้ำในบ่อจะมีระดับสูงกว่าระดับน้ำของบ่อบาดาลที่เจาะลงในชั้นหินอุ้มน้ำไร้แรงดัน ในบางพื้นที่อาจพบเป็นบ่อน้ำพุ (จีรเดช มาจันแดง,2549) ดังนั้น การขุดเจาะบ่อบาดาลก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการหาแหล่งน้ำจืด เพราะน้ำบาดาลมีปริมาณมากกว่าน้ำผิวดิน และกำลังกลายเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญมากขึ้นเพราะนอกจากมีปริมาณมากแล้ว น้ำบาดาลมีโอกาศปนเปื้อนต่ำกว่าน้ำผิวดิน  ปราศจากจุลินทรีย์ ปราศจากสี มีองค์ประกอบทางเคมีค่อนข้างคงที่ และยังยังมีขอ้ดีอื่นๆ อีกมาก อย่างไรก็ตาม การเจาะบ่อบาดาลนั้นต้องให้ถูกหลักวิชาการเพื่อลดการปนเปื้อนแหล่งน้ำบาดาล วมถึงการป้องกันการรัวซึมของมลพิษจากการเกษตตร อุตสาหกรรม และชุมชนลงสู่แหล่งน้ำบาดาล  การสูบนำ้เกลือจากกรทำเหมืองเกลือในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  เป็นสาเหตุหนึ่งของการปนเปื้อนน้ำเกลือในระบบน้ำบาดาล น้ำผิวดิน ทำให้ปัญหาดินเค็มลุกลาม  และเกิดหลุมยุบขนาดใหญ่
                          2. การรักษาแหล่งน้ำจากกิจกรรมทางการเกษตร
                         การทำการเกษตร (Farming) การลดอัตราการกร่อนของดินโดยแนวทางตามโพสแรก จะช่วยลดความขุ่นของน้ำ และการลดการใช้สารเคมี เช่นปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชสามารถช่วยลดการปนเปื้อนของสารเคมีเหล่านี้ในแหล่งน้ำทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินได้ การส่งเสริมการใช้ระบบน้ำหยดในการเพาะปลูก (Microirrigation/drip) ช่วยลดการสูญเสียน้ำจากการรดน้ำแบบดั้งเดิมได้มาก เกษตรกรควรมีการศึกษาเทคโนโลยีทางชลประทานใหม่ๆ ช่วยให้มีความรู้และอาจนำมาประยุกต์เพื่อการอุรักษ์น้ำได้
                         การปศุสัตว์ (Livestock) การเลี้ยงสัตว์  เช่น สัตว์เล็มหญ้านั้นหากมีการจัดการไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนของมูลสัตว์สู่แหล่งน้ำได้ มูลสัตวืเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพร่ขยายของเชื้อแบททีเรียโคลิฟอร์ม (Coli form bacteria) ในแหล่งน้ำผิวดิน ดังนั้นควรมีการจัดการมูลสัตว์ให้เหมาะสมโดยการสร้างบ่อกักเก็บ  และอาจประยุกต์ใช้ผลิตก๊าซชีวภาพหรือทำเป็นปุ๋ยได้ด้วย
                          การเลือกปลุกพืชที่มีอัตราการคายน้ำต่ำ มีการศึกษาพบว่า การปลูกพืชจำพวกสมุนไพรหรือหย้าช่วยรักษาความชื้นในดินมากกว่าไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เนื่องจากพืชสมุนไพรมีอัตราการคายน้ำต่ำกว่าซึงสามารถลดอัตราการใช้น้ำได้ ดังนี้ ในพื้นที่ทางการเกษตร การปลูกพืชคลุมดินกลุ่มนี้สามารถลดการกร่อนของดินแล้วยังรักษาความชื้นในดินด้วย ซึ่งจะเป็นการประหยัดน้ำในการเพาะปลูกได้อีกแนวทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเลือกปลูกพืชทางเศรษฐกิจนั้นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างที่เป็นจุดสมดุลระหว่างผลกำไรและการอนุรักษ์
                          การตัดไม้ (Logging) การว่างแผนตัดไม้อย่างถูกวิธีช่วยลดความเสียหายของหน้าดินจากการกร่อน ซึ่งส่งผลให้น้ำในแหล่งน้ำขุ่นได้ เช่น การไม่ตัดต้นไม้ในพื้นที่ทั้งผืนในครั้งเดียว และการปลูกทดแทน เป็นต้น
                            3. การรักษาแหล่งน้ำจากอุตสาหกรรม
                          น้ำเสียจากอุตสาหกรรม (Industrial water waste) โรงงานต้องวางแผนการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ลดการปล่อยน้ำเสียโดยการทำบำบัน้ำก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้ว่าการสร้างโรงบำบัดน้ำจะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ดี ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไปมีสามขั้นตอน ดังนี้
                          ขั้นตอนแรก เป็นการใช้กระบวนการทางกายภาพเพื่อแยกของแข็งที่ปนเปื้อนมากับน้ำเสียออกก่อน เช่น ตะกอนขนาดต่างๆ ใบไม้ และเศษชิ้นส่วนทางอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยการกรองผ่านตะแกรง หลังจากนั้นน้ำเสียจะไหล่ลงสู่ถังเก็บ (Settling tank/Clarifier) ในโรงงานทำการบำบัดขั้นตอนเดียวนั้น หลังจากนั้นจะทำการเติมคลอรีนเพื่อกำจัดจุลชีพที่อยู่ในน้ำเสียแล้วจึงปล่อยน้ำลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ส่วนตะกอนเหลวหนืด (Sludge) ที่ตกอยู่ก้นถังนั้นแยกออกแล้วทำให้แห้งก่อนนำไปทิ้ง
                          ขั้นตอนที่สอง น้ำที่แยกตะกอนเหลวหนือในขั้นตอนแรกแล้วนั้นอาจทำการนำมาบำบัดในขั้นตอนที่สอง เป็นขั้นตอนการเติมออกซิเจนลงในน้ำเพื่อให้แบคทีเรียย่อยอินทรีย์วัตถุที่หลงเหลืออยู่ในน้ำให้น้ำใสขึ้น น้ำส่วนบนจะปล่อยเข้าถังต่อไป การเติมคลอรีนเพื่อทำลยแบคทีเรียแล้วจึงปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ แต่หากมีสารเคมีในปริมาณสูงอยู่ ต้องทำการบำบัดในขั้นตอนที่สามก่อน ส่วนตะกอนหนืดที่อยู่ก้นถังจะถูกส่งไปย่อยโดยแบคทีเรีย (Sludge digester) โดยไม่เติมออกซิเจน แล้วจึงทำให้แห้งก่อนนำไปทิ้ง
                           ขั้นตอนที่สาม เป็นขั้นตอนการกำจัดสารมลพิษ เช่น ไนเตรต และฟอสเฟต ที่ละลายอยู่ในน้ำเสียออก ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ช่วยรักษาน้ำในระบบนิเวศได้ดี

                             4.การรักษาแหล่งน้ำจาดกิจกรรมชุมชน
                            น้ำเสียจากชุมชน (Municipal water waste) การลดการปล่อยน้ำเสียจากชุมชนหรือครัวเรือนลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยการสร้างบ่อกักเก็บอย่างถูกวิธี ทำการติดตั้งสุขภัณฑ์และระบบประหยัดน้ำ ปรับปรุงนิสัยการบริโภคเท่าที่เหมาะสมและจำเป็นเพื่อลดของเสีย การลดการใช้น้ำเป็นการช่วยประหยัดเงินไปในตัวด้วย อย่างไรก็ตาม น้ำเสียจากชุมชนนั้นสามารถทำการบำบัดได้เหมือนกับขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น
                             การพัฒนาเมือง (Urban development) การก่อสร้างอาคารและการตัดถนนเป้นปัญหาใหญ่ต่อแหล่งน้ำและพื้นที่ลุ้มน้ำมาก การขยายตัวของเมืองทำให้ลุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ลุ่มน้ำ ส่งผลต่อการซึมผ่านของน้ำ และเกิดปัญหาต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของน้ำบาดาล การสร้างถนนตัดขวางทางน้ำธรรมชาติ เช่น ถนนวงแหวนรอบเมืองหากมีการวางแผนไม่ดี อาจเกิดน้ำท่วมได้ง่าย                                
ที่มา : เอกสารประกอบการสอน ,รายวิชา  0024001  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : สำนักศึกษาทั่วไป  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

1 ความคิดเห็น: